วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553

สัตว์โลกน่ารัก

1.....กระต่าย
พันธุ์ของกระต่าย
กระต่ายมีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ โดยสามารถใช้ขนาดเป็นเกณฑ์ในการจำแนก ได้แก่ กระต่ายแคระ กระต่ายขนาดเล็ก กระต่ายขนาดกลาง และกระต่ายขนาดใหญ่
  • กระต่ายแคระ เช่น เนเธอร์แลนด์ดวอฟ โปลิช ดวอฟโอโท เป็นต้น
  • กระต่ายขนาดเล็ก ได้แก่ ฮอลแลนด์ลอป อเมริกันฟัซซี่ลอป มินิเร็กซ์ ดัทช์ เป็นต้น
  • กระต่ายขนาดกลาง เช่น ซาติน แคลิฟอร์เนียน นิวซีแลนด์ไวท์ เป็นต้น
  • กระต่ายขนาดใหญ่ ได้แก่ เฟลมมิชไจแอนท์ เฟร้นช์ลอป อิงลิชลอป เชคเกิร์ตไจแอนท์ เป็นต้น
กระต่ายจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ประเภทสัตว์เลือดอุ่น ในอันดับ Lagomorpha เดิมจัดกระต่ายไว้เป็นสัตว์ฟันแทะในอันดับ Rodentia ร่วมกับพวกหนูและกระรอก แต่เมื่อพบว่ากระต่ายมีลักษณะหลายอย่างเป็นของตนเอง ที่แตกต่างจากพวกหนูและกระรอกมาก โดยเฉพาะกระต่ายจะมีฟันตัดสองคู่ทางด้านหน้าของขากรรไกรบนคู่ที่สองมีลักษณะเป็นปุ่มเล็กซุกอยู่ภายในคู่หน้า ในขณะที่หนูและกระรอกมีฟันตัดเพียงคู่เดียว กระต่ายถือกำเนิดในโลกมาเมื่อประมาณ 50 ล้านปีมาแล้ว ในบริเวณทวีเอเชียและอเมริกาเหนือ ทั่วโลกมีจำนวนชนิดของกระต่ายรวม 58 ชนิด ในจำนวนนี้ 44 ชนิด จัดอยู่ในวงศ์กระต่ายธรรมดา (Leporidae) และอีก 14 ชนิด อยู่ในวงศ์กระต่ายหูสั้น (Ochotonidae) กระต่ายวงศ์แรกมีขาหลังที่ยาว ทำให้วิ่งได้รวดเร็ว ใบหูยาวและหมุนไปมาได้ และมีหางสั้น ขนฟูเป็นกระจุก ส่วนกระต่ายหูสั้นมีขาทั้งคู่หน้า และคู่หลังสั้นพอๆกัน ใบหูสั้นเป็นมนกลม และไม่มีหางให้เห็นภายนอก ในวงศ์กระต่ายธรรมดา ยังแบ่งออกได้เป็นกระต่ายเลี้ยง (rabbit) และกระต่ายป่า (hare) ซึ่งมีความแตกต่างกันมากในลักษณะของ กระโหลกศีรษะ กระต่ายเลี้ยงออกลูกในโพรงใต้ดิน ไม่มีขน และไม่ลืมตาจนกว่าจะมีอายุได้ 10 วัน ส่วนกระต่ายป่าออกลูกบนพื้นดินในพงหญ้ารก ลูกที่ออกมามีขนปกคลุมตัว และตาเปิดตั้งแต่วันแรกเกิด นอกจากนี้ กระต่ายป่ามีนิสัยชอบวิ่งหนีศัตรูมากกว่าจะซุกซ่อนในโพรงดังเช่นกระต่ายเลี้ยง ที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ และกระต่ายป่าชอบอยู่โดดเดี่ยว ในขณะที่กระต่ายเลี้ยงชอบอยู่เป็นฝูง กระต่ายเลี้ยง (European rabbit) มีเพียงชนิดเดียว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Orytolagus cuniculus มีถิ่นกำเนิดในคาบสมุทร ไอบีเรียและแอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือ ต่อมามีการนำไปเลี้ยงทั่วโลก สำหรับกระต่ายป่านั้น มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lepus peguensis มีเขตแพร่กระจายในประเทศพม่า ไทย อินโดจีน และเกาะไหหลำ พบอาศัยอยู่ในทุ่งหญ้า และบริเวณป่าดั้งเดิมที่สภาพถูกทำลายทั่วประเทศ ลงไปทางทิศใต้ จนถึงบริเวณรอยต่อระหว่างจังหวัดประจวบคีรีขันธ์กับจังหวัดชุมพร กระต่ายอาศัยอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมหลายแบบ ตั้งแต่บริเวณเขตหิมะในแถบอาร์กติก จนถึงทะเลทรายและป่าในเขตร้อน อาหารได้แก่ หญ้าและพืชล้มลุก รากไม้ เปลือกไม้ยืนต้น และไม้พุ่ม กระต่ายมีนิสัยกินมูลของตัวเอง โดยในเวลากลางวันจะถ่ายออกมาเป็นมูลแข็งและ ในเวลากลางคืนจะถ่ายมูลอ่อนที่มีวุ้นเคลือบ ซึ่งกระต่ายจะกินในเวลาเช้า เชื้อบักเตรีในมูลอ่อนเมื่อมาถูกกับอากาศจะสร้างวิตามินบางชนิดขึ้น วิตามินนี้จำเป็นมากต่อสุขภาพของกระต่าย หากไม่ได้กินมูลอ่อนกระต่ายจะตายภายในเวลา 3 วัน กระต่ายเลี้ยงในทวีปยุโรปภาคเหนือผสมพันธุ์ในเดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนสิงหาคม หรือเดือนกันยายน ผสมพันธุ์โดยการปฏิสนธิภายใน ออกลูกได้ 3-5 ครอก ครอกละ 5-6 ตัว สำหรับกระต่ายป่าในซีกโลกภาคเหนือ ออกลูก 2-4 ครอก ครอกละ 1-9 ตัว ในฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน แต่ในเขตร้อนกระต่ายป่าผสมพันธุ์ได้ตลอดปี ในธรรมชาติปกติกระต่ายมีอายุประมาณ 10 ปี

2....แมว
แมว หรือ แมวบ้าน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Felis catus) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม อยู่ในตระกูล Felidae ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับสิงโตและเสือดาว ต้นตระกูลแมวมาจากเสือไซบีเรียน (Felis tigris altaica) ซึ่งมีช่วงลำตัวตั้งแต่จมูกถึงปลายหางยาวประมาณ 4 เมตร แมวที่เลี้ยงตามบ้าน จะมีรูปร่างขนาดเล็ก ขนาดลำตัวยาว ช่วงขาสั้นและจัดอยู่ในกลุ่มของประเภทสัตว์กินเนื้อเป็นอาหาร มีเขี้ยวและเล็บแหลมคมสามารถหดซ่อนเล็บได้เช่นเดียวกับเสือ สืบสายเลือดมาจากแมวป่าที่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งลักษณะบางอย่างของแมวยังคงพบเห็นได้ในแมวบ้านปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นแมวพันธุ์แท้หรือแมวพันธุ์ทาง
แมวเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่เมื่อประมาณ 9,500 ปีก่อน [5] ซึ่งจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของแมวคือการทำมัมมี่แมวที่ค้นพบในสมัยอียิปต์โบราณ หรือในพิพิธภัณฑ์อังกฤษในกรุงลอนดอน มีการแสดงสมบัติที่นำออกมาจากปิรามิดโบราณแห่งอียิปต์ ซึ่งรวมถึงมัมมี่แมวหลายตัว ซึ่งเมื่อนำเอาผ้าพันมัมมี่ออกก็พบว่า แมวในสมัยโบราณทุกตัวมีลักษณะใกล้เคียงกัน คือเป็นแมวที่มีรูปร่างเล็ก ขนสั้นมีแต้มสีน้ำตาล มีความคล้ายคลึงกับพันธุ์ในปัจจุบัน ที่เรียกว่าแมวอะบิสสิเนียน

Collage of Six Cats-02.jpg

3...สุนัข
สุนัข หรือ หมา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Canidae ออกลูกเป็นตัว ลำตัวมีขนปกคลุม มีเขี้ยว 2 คู่ เท้าหน้ามี 5 นิ้ว เท้าหลังมี 4 นิ้ว ซ่อนเล็บไม่ได้ อวัยวะเพศของตัวผู้มีกระดูกอยู่ภายใน 1 ชิ้น ที่ยังคงเป็นสัตว์ป่า เช่น หมาใน (Cuon alpinus) ที่เลี้ยงเป็นสัตว์บ้าน คือ ชนิด Canis lupus familiaris สุนัขเป็นสัตว์ที่มีหลายพันธุ์ เช่น ลาบราดอร์, โกลเด้น, ชิวาวา และอีกมากมาย มีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ดุและไม่ดุ พันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น โกลเด้น ลาบราดอร์ ที่มีขนาดเล็ก เช่น ชิวาวา ชิสุ ส่วนที่ดุ ได้แก่ ร็อดไวเลอร์ อัลเซเชียน สุนัขแต่ละพันธุ์จะมีนิสัยแตกต่างกัน
สุนัขพัฒนามาจากสัตว์กินเนื้อและล่าเหยื่อ ดังนั้นวิวัฒนาการของฟันสำหรับเคี้ยวเนื้อและกระดูกจึงยังคงมีอยู่ รวมทั้งการมีประสาทดมกลิ่นและตามล่าเหยื่อที่ดีมาก นอกจากนี้สุนัขยังมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงทำให้วิ่งได้เร็วและเร่งความเร็วได้เท่าที่ต้องการ ลักษณะการเดินของสุนัขจะทิ้งน้ำหนักตัวบนนิ้วเท้า ซึ่งส่งผลให้สุนัขเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วกว่าสัตว์ชนิดอื่น นอกจากนี้สุนัขยังมีสัญชาตญาณในการทำงานเป็นกลุ่ม ดังนั้นสุนัขจึงสามารถล่าสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ[1]

สุนัขพันธุ์ไทยหลังอาน

4....ปลาทอง

ปลาทอง บางครั้งนิยมเรียกว่า ปลาเงินปลาทอง (อังกฤษ: Goldfish) เป็นปลาน้ำจืด อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Carassius auratus เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและญี่ปุ่น ต่อมาได้ถูกพัฒนาสายพันธุ์มาไม่ต่ำกว่า 2,000 ปี จนกลายเป็นปลาสวยงามหลากหลายสายพันธุ์ในปัจจุบัน
โดยปลาทองเชื่อว่า เป็นปลาสวยงามชนิดแรกที่มนุษย์เลี้ยง จากหลักฐานที่ปรากฏไม่ต่ำกว่า 2,000 ปีมาแล้ว เป็นรูปสลักปลาทองหลากหลายสีว่ายรวมกันอยู่ในบ่อ ที่ประเทศจีนเป็นประเทศแรกที่เลี้ยงปลาทอง แต่ประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้พัฒนาสายพันธุ์ปลาทองให้มีความสวยงามและหลากหลายมาจนปัจจุบัน
ปลาทองมีรูปร่างอ้วน ป้อม มีเกล็ดแบบบางเรียบ ครีบอกกลมแบน ครีบหางเป็นรูปพัด เป็นปลากินพืช และแมลงน้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร เป็นปลาที่ตะกละสามารถกินอาหารได้ตลอดทั้งวัน ตัวผู้เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะมีตุ่มสิวขึ้นตามครีบอกและใบหน้า ปลาตัวท้องช่องท้องจะอูมเป่งออก วางไข่ตามพืชน้ำ ไข่ใช้เวลาฟักตัวประมาณ 2 วัน
ปลาทองมีสีหลากหลายตั้งแต่สีแดง สีทอง สีส้ม สีเทา สีดำและสีขาว แม้กระทั่งปลาทองสารพัดสีในตัวเดียวกัน ในธรรมชาติชอบอาศัยตามหนองน้ำและลำคลองที่ติดกับแม่น้ำ อาจมีอายุได้ถึง 20-30 ปี ถ้าอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ต่อมาถูกนำไปเลี้ยงในยุโรปเมื่อศตวรรษที่ 17[1] และถูกนำไปเผยแพร่ในอเมริกา ในศตวรรษที่ 19 สำหรับในประเทศไทย เชื่อว่าปลาทองเข้าในสมัยอยุธยาตอนกลางเพื่อเป็นของบรรณาการในราชสำนัก
ในปัจจุบันมักเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และปลาทองที่เลี้ยงไว้ดูเล่นจะมีช่วงชีวิต ประมาณ 7-8 ปี พบจำนวนน้อยมากที่มีอายุถึง 20 ปี ปัจจุบันประเทศจีน ฮ่องกง สิงคโปร์ และญี่ปุ่น เป็นศูนย์กลางการส่งออกปลาทองที่ใหญ่ที่สุด
ผู้เลี้ยงมักนิยมให้ปลาทองกินลูกน้ำ ไรน้ำ และตัวอ่อนแมลงชนิดต่าง ๆ รวมทั้งอาหารเม็ดสำเร็จรูป มีความยาวแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ มีความยาวตั้งแต่ 4-45 เซนติเมตร พันธุ์ปลาทองที่ได้รับความนิยมในตลาดปัจจุบัน ได้แก่ พันธุ์หัวสิงห์ (LION HEAD) ออแรนดา (ORANDA) เกล็ดแก้ว (PEARL SCALE) รักเล่ (TELESCOPE EYE) ริวกิ้น (RYUKIN) ตาลูกโป่ง (BUBBLE EYE) และ ชูบุงกิ้น (SHUBUNKIN) สิงห์ดำตามิด (BLACK SIAM) เป็นต้น[2

ปลาทองสายพันธุ์เกล็ดแก้ว สายพันธุ์ที่ถูกผสมขึ้นมาโดยคนไทยเอง

5......กระรอก

กระรอก (อังกฤษ: Squirrel, วงศ์: Sciuridae) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีขนาดลำตัวเล็ก ขนปุยปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย นัยน์ตากลมดำ หางเป็นพวงฟู จัดอยู่ในประเภทสัตว์ฟันแทะ
กระรอกอาจแบ่งได้เป็น 3 พวกใหญ่ ๆ ได้แก่ กระรอกต้นไม้ (tree squirrels) กระรอกดิน (ground squirrels) และ กระรอกบิน (flying squirrels)
วงศ์กระรอกมี วงศ์ย่อย 2 วงศ์ คือ Pteromyinae ได้แก่ กระรอกบิน และวงศ์ Sciurinae ได้แก่ กระรอกต้นไม้, กระรอกดิน, ชิพมั้งค์
กระรอกต้นไม้ เป็นกระรอกที่มักพบเห็นได้บ่อยและคุ้นเคยกันดี มีหางยาวเป็นพวงสวยงาม มีกรงเล็บแหลมคม และมีใบหูใหญ่ บางชนิดมีปอยขนที่หู ส่วนกระรอกบินนั้น จะมีพังผืดข้างลำตัว สำหรับกางเพื่อร่อนจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง มักเป็นหากินในตอนกลางคืน มีตาสะท้อนแสงไฟ กระรอกดิน มักจะมีรูปร่างสั้น และล่ำสันกว่ากระรอกต้นไม้ มีขาหน้าแข็งแรงใช้สำหรับการขุดดิน หางของกระรอกดินนั้นจะสั้นกว่าหางของกระรอกต้นไม้ และไม่ฟูเป็นพวงนัก และเช่นเดียวกับสัตว์ฟันกัดแทะชนิดอื่น ๆ กระรอกจะมีนิ้วเท้าหลังข้างละ 5 นิ้ว และ นิ้วเท้าหน้าข้างละ 4 นิ้ว ตรงส่วนที่น่าจะเป็นนิ้วโป้งจะกลายเป็นปุ่มนูน ๆ ซึ่งถูกพัฒนาให้เหมาะสำหรับจับอาหารมาแทะ
กระรอกมีขนาดใหญ่เล็กต่าง ๆ กันไปตามสายพันธุ์ และสามารถแบ่งตามขนาดได้ 3 กลุ่ม คือ ขนาดใหญ่ เช่น พญากระรอก ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองไทยพบอยู่เพียง 2 ชนิด คือ พญากระรอกดำ (Ratufa bicolor) และพญากระรอกเหลือง (R. affinis) ซึ่งได้ถูกขึ้นบัญชีเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ขนาดกลาง เช่น กระรอกหลากสี (Callosciurus finlaysoni) กระจ้อน (Menetes berdmorei) และ ขนาดเล็ก เช่น กระเล็น (กระถิก) (Tamiops spp.) ซึ่งเป็นกระรอกที่เล็กที่สุดที่พบในประเทศไทย
กระรอกเป็นสัตว์ที่คล่องแคล่วว่องไวมาก อาหารของกระรอกคือ ผลไม้ และ เมล็ดพืช เป็นหลัก แต่กระรอกก็ยังชอบกินแมลงด้วยเหมือนกัน โดยเฉพาะกระรอกขนาดใหญ่อย่างพญากระรอก นั้นบางครั้งก็ยังกินไข่นกเป็นอาหารอีกด้วย
ด้วยความน่ารักของกระรอก ทำให้กระรอกหลายชนิดนิยมเป็นสัตว์เลี้ยงของมนุษย์ เพื่อความเพลิดเพลิน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น